เมืองประจวบคีรีขันธ์ เดิมชื่อ เมืองนารัง เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ ๒ เมืองนารัง ได้ถูกทิ้งร้างจนถึงรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้สร้างเมืองใหม่ที่คลองบางนางรม แล้วย้ายที่ตั้งของเมืองไปตั้งที่เมืองกุย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองกุย เป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์ แต่ตัวศาลาที่ว่าการเมืองยังคงตั้งอยู่ที่อําเภอกุยบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รวมเมืองปราณบุรีเมืองประจวบ และเมืองกําเนิดนพคุณเข้าเป็น เมืองเดียวกัน พระราชทานนามเมืองว่า เมืองปราณบุรีตั้งที่ว่าการอยู่ที่อ่าวเกาะหลักส่วนเมือง ปราณบุรีเดิมให้คงเรียกว่าเมือปราณมีฐานะเป็นอําเภอในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงเห็นว่าชาวบ้าน ยังคงเรียก เมืองปราณ สับสนกับชื่อ เมืองปราณบุรี ซึ่งทางราชการย้ายมาตั้งที่เมืองเกาะหลัก จึงทรงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อเมืองปราณบุรีเป็นเมืองประจวบคีรีขันธ์จนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
“เมืองท่องเที่ยวทรงคุณค่าระดับนานาชาติ เกษตรปลอดภัย ด่านสิงขรระเบียงเศรษฐกิจแห่งอนาคต สังคมผาสุกภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ
๑. พัฒนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้เป็นเมืองท่องเที่ยวบนพื้นฐานเอกลักษณ์ของจังหวัดสู่นานาชาติ
๒. ผลักดันจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านการผลิตการแปรรูปสับปะรด มะพร้าว และสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลกด้วยนวัตกรรม
๓. ส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ และพัฒนาด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวด่านสิงขร และอาเซียน
๔. สร้างสังคมให้มั่นคง ผาสุก ตามหลักธรรมาภิบาลและยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๕. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดสมดุล
ค่านิยมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สะอาด
รักษาความสะอาด บ้านเมือง สถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน ถนนหนทาง บ้านเรือน
สะดวก
ทำให้สะดวก การเดินทางสะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวาง การอำนวยความสะดวกต่างๆ
สงบ
รักสงบ การดำรงชีวิตเรียบง่าย ปลอดภัย การรักษาความสงบเรียบร้อย สามัคคี
สวยงาม
ทำให้มีความสวยงาม การพัฒนาสถานที่ ธรรมชาติ วัฒนธรรม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
สุขภาพ
ทำให้เกิดสุขภาพดี ประชาชนสุขภาพอนามัยดี สุขภาพดี สุขภาพใจดี อาหารปลอดภัย