ปราณบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีทะเลที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักและคึกคักที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัด ประวัติ ในอดีตเป็นพื้นที่เขตปกครอง เมืองปราณบุรี (เมืองชั้นจัตวา) ขึ้นตรงกับแขวงเมืองเพชรบุรี จนกระทั่งมีการจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล จึงได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอเมืองปราณบุรี แขวงเมืองเพชรบุรี (จังหวัดเพชรบุรี) ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ ณ บ้านเพนียด ต่อมา วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชองการเหนือเกล้าให้รวมเอาอำเภอเมืองปราณบุรี อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นเมืองชั้นจัตวามาก่อนเข้ารวมเป็นจังหวัดปราณบุรี ที่ตั้งและอาณาเขต อำเภอปราณบุรีตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้ การปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่อำเภอปราณบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
ประวัติ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์
เมืองประจวบคีรีขันธ์ เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองและการบริหารของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประวัติ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อว่า “เมืองนารัง” หรือ “เมืองบางนางรม” ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าได้ลำดับชื่อหัวเมืองปักษ์ใต้ดังนี้ “เมืองปราณ เมืองชะอัง เมืองนารัง เมืองบางตะพาน” เมืองเหล่านี้ก็คือ อำเภอปราณบุรี อำเภอชะอำ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอบางสะพานในปัจจุบัน หลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 เมืองนารัง (บางนางรม) ก็เลิกร้างไป จนถึงสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองบางนางรมขึ้นใหม่ที่ปากคลองบางนางรม แต่ที่ดินไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก จึงย้ายที่ว่าการเมืองไปตั้งที่เมืองกุย […]
ประวัติ อำเภอหัวหิน
หัวหิน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดิมมีชื่อว่า “บ้านถมอเรียง”, “บ้านสมอเรียง” ,”กบาลถมอ” หรือ “บ้านแหลมหิน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทุกวันนี้หัวหินมีชื่อเสียงจากการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศที่สามารถเที่ยวได้ใน 1 วัน และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครเพียง 196 กิโลเมตร หากใช้เส้นทางถนนพระรามที่ 2 ใช้เวลาประมาณ 2.5-3 ชั่วโมงหากโดยสารทางรถ หรือ 45 นาทีหากเดินทางโดยเครื่องบิน ประวัติ ชุมชนหัวหินก่อตั้งขึ้นในราว พ.ศ. […]
ประวัติ อำเภอบางสะพานน้อย
บางสะพานน้อย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเป็นอำเภอสุดท้ายของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก่อนที่จะเข้าเขตภาคใต้ของประเทศไทย ประวัติ ท้องที่อำเภอบางสะพานน้อยเดิมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองกำเนิดนพคุณ ซึ่งต่อมาเป็นอำเภอเมืองกำเนิดนพคุณ จังหวัดชุมพร (เมือง) และต่อมาจึงได้รวมกับ 2 อำเภอจากจังหวัดเพชรบุรี (เมือง) คืออำเภอเมืองปราณบุรี และอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งก็ยังเป็นอำเภอกำเนิดนพคุณ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางสะพาน จนกระทั่งกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางสะพานน้อย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา จนได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 หน้าที่ 115 ก ฉบับพิเศษ […]
ประวัติอำเภอสามร้อยยอด
ท้องที่อำเภอสามร้อยยอดเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอปราณบุรีและอำเภอกุยบุรี ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลสามร้อยยอด ตำบลศิลาลอย และตำบลไร่เก่า จากอำเภอปราณบุรี มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสามร้อยยอด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 และมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน โดยชื่ออำเภอมีความเป็นมาหลายกระแสบ้างว่าเป็นเพราะมีต้นสามร้อยยอดขึ้นอยู่ หรือมียอดเขามากมายถึง 300 ยอด แต่ที่คนส่วนใหญ่กล่าวขานกันจนเป็นตำนานสืบกันมาว่า ในสมัยที่เทือกเขายังเป็นเกาะอยู่ ได้มีเรือสำเภาจีนบรรทุกผู้โดยสารผ่านมา และได้ประสบกับลมพายุอย่างรุนแรง จึงได้นำเรือเข้ามาตามร่องน้ำด้านทิศตะวันตกของเกาะเพื่อหลบพายุ แต่เนื่องจากไม่ชำนาญพื้นที่เรือได้ชนกับหินโสโครกอับปางลง ผู้คนตะเกียกตะกายหนีขึ้นฝั่งได้ 300 คน จึงได้ตั้งชื่อว่า “เกาะสามร้อยรอด” ต่อมาระดับน้ำทะเลได้ลดลง เกาะจึงกลายเป็นภูเขา ชาวบ้านจึงเรียกเพี้ยนเป็น “เขาสามร้อยยอด” ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนตำบลไร่ใหม่ จากอำเภอกุยบุรีมาอยู่ในเขตการปกครองของทางกิ่งอำเภอตั้งแต่วันที่ 1 […]
ประวัติอำเภอกุยบุรี
ประวัติความเป็นมา กุยบุรีเป็นเมืองเก่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ที่ตั้งคือบริเวณบ้านจวนบนในปัจจุบันอยู่หมู่ที่ 2 ต.กุยบุรี ห่างลำน้ำกุยบุรีประมาณ 400 เมตร สมัยกองทัพพม่ายกทัพเข้าตีไทย ต้องเข้ามาทางด่านสิงขรและจะต้องข้ามลำน้ำกุยบุรีบริเวณท่าข้ามซึ่งเป็นส่วน ที่แคบและตื้น เจ้าเมืองกุยได้รวมตัวกันลอบโจมตีทัพพม่า และมักประสบชัยชนะเป็นประจำจนมีสมญานามเรียกขานว่า “เสือกุย” และอบต.กุยบุรีก็ใช้สัญลักษณ์ประจำหน่วยงานเป็นรูปเสือด้วย พ.ศ.2503 กระทรวงมหาดไทยยกฐานะ ต.กุยบุรีเป็นกิ่งอ.กุยบุรี และในวันที่ 19 กรกฎาคม 2506 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอกุยบุรี วันที่ 19 มกราคม 2539 กระทรวงมหาดไทยประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขี้นทั่วประเทศไทย 2,143แห่ง มีผลทำให้สภาตำบลกุยบุรีได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกุยบุรี […]